
การฟื้นฟูสภาพหลังการทพเหมือง คือ การปรับปรุงพื้นที่ที่ถูกสร้างเป็นเหมืองแร่ โดยจะมีการปรับโดยผ่านกระบวนการต่างๆเพื่อให้สภาพสิ่งแวดล้อมนั้นกลับมาสมบูรณ์ตามธรรมชาติให้ได้มากที่สุด ซึ่งวิธีการต่างๆเหล่านั้นสามารถเลือกทำได้ในหลายๆรูปแบบ โดยอาจจะจัดให้เกิดขึ้นในรูปแบบสถานที่พักผ่อน อย่างรึสอร์ต หรือ โรงแรม เป็นพื้นที่ทางการเกษตรกรรม ซึ่งอาจจะเป็นไร่สำหรับปลูกผลผลิตต่างๆ เช่น เงาะ ทุเรียน สตอเบอรี่ เป็นพื้นที่สำหรับการปลูกป่า อ่างเก็บน้ำ เป็นพื้นที่สำหรับการทำการประมง หรือ อาจจะเป็นสถานที่เหมาะสำหรับให้ความรู้ทางด้านการทำเหมืองแร่ เช่น พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต
วิธีการฟื้นฟูมีขั้นตอนดังนี้
หาแนวทางในการฟื้นฟูพื้นที่หลังการทำเหมือง จำเป็นต้องออกแบบในการพัฒนารูปทรงฟื้นที่ สร้างความลาดชันให้เข้ากันกับพื้นที่ และ ปรับปรุงให้ใกล้เคียงกับทัศนียภาพเดิมมากที่สุด
วัตถุประสงค์การฟื้นฟู ตรวจสอบวัตถุประสงค์ถึงการฟื้นฟูให้ชัดเจน เพื่อเป็นการป้องกันสุขภาพและความปลอดภัยของประชาชน มีสภาพใกล้เคียงกับสภาพก่อนการทำเหมือง
การวางแผนการปรับสภาพพื้นที่ เร่งฟื้นฟูพื้นที่เหมืองเป็นป่าธรรมชาติที่สมบูรณ์
การปรับสภาพพื้นที่ จะเป็นวิธีการปลูกป่าอาจแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ การปลูกป่าที่มีพันธุ์ไม้ชนิดเดียว และ การปลูกป่าที่มีพันธุ์ไม้หลายชนิด ปรับความลาดชันของพื้นที่ โดย พืชพรรณที่คาดว่าจะปลูก ได้แก่ กระถินณรงค์ กระถินเทพา ชัยพฤกษ์ กัลปพฤกษ์ กระดุมทอง และ มะขามป้อม
การคาดการณ์ อาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย10-20 ปี ให้การทำให้สภาพธรรมชาติบริเวณกลับมามีความอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง