การสำรวจเพื่อค้นหาแร่

ในการค้นหาตำแหน่งของแร่ สำหรับการสำรวจบริเวณที่คาดว่าจะมีแหล่งสะสมของจำนวนแร่ธาตุต่างๆถึงปริมาณ และ คุณภาพ ซึ่งใช้ความรู้ของนักสำรวจทางด้านธรณีวิทยา โดยที่จะมีวิธีการสำรวจหลากหลายรูปแบบ โดยจำเป็นต้องใช้องค์ประกอบโดยรวมทุกๆอย่าง ทั้งทางด้านการสำรวจอากาศ การสำรวจพื้นผิวหน้าดิน และ การสำรวจใต้ดิน

การสำรวจพื้นที่ค้นหาแร่เบื้องต้น

ในการสำรวจเพื่อค้นหาศักยภาพของแร่ในมุมกว้าง ซึ่งไม่อาจจะเข้าไปถึงตัวแร่ได้โดยตรง ในส่วนของการสำรวจเบื้องต้นนี้จะใช้เงินลงทุนไม่สูงมากสำหรับการเลือกพื้นที่ในการสำรวจค้นหา เพื่อให้มีพื้นที่ในการคัดเลือกพื้นที่ที่แคบลง ในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายการทำแผนที่ภูมิประเทศขั้นต้น เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการทำเหมือง

โดยมีวิธีการเบื้องต้นในการเก็บตัวอย่างแร่ ด้วยการขุดหลุมสำรวจ หรือ ระเบิดหลุม อยู่ที่ขนาด 1 เมตร เพื่อเปิดดูชั้นแร่ และ เซาะร่อง

สำรวจธรณีฟิสิกส์

การสำรวจโดยการใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อวัดคุณสมบัติทางด้านมวลค่าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าพลังงานไฟฟ้า ค่าความร้อน ค่าคลื่นความถี่ หรือ ค่าทางรังสีวิทยา เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจ ถึงความคุ้มค่าในการทำเหมือง

สำรวจธรณีวิทยา

การสำรวจแหล่งแร่โดยใช้วิธีการทางธรณีวิทยา หลักสำคัญอย่างหนึ่ง คือ การทำแผนที่และรวบรวมข้อมูลทางธรณีวิทยาที่เกี่ยวข้อง เพื่เป็นปัจจัยในการพิจารณา ปริมาณแร่ แหล่งกำเนิดแร่

สำรวจธรณีเคมี

การสำรวจแหล่งแร่โดยใช้วิธีการทางธรณีเคมี สำรวจโดยการเก็บตัวอย่างหิน แร่ดิน ตะกอนท้องน้ำ น้ำผิวดิน น้ำบาดาล เพื่อค้นหาบริเวณพื้นที่ ที่มีปริมาณธาตุ และการวิเคราะห์ข้อมูลทางโครงสร้างจะเป็นประโยชน์มากสำหรับการพิจารณา

 

การสำรวจพื้นที่ค้นหาแร่ขั้นละเอียด

เป็นการสำรวจด้วยวิธีการเจาะสำรวจ และ เข้าถึงแร่เพื่อกำหนดขอบเขตในการเข้าถึง รวมทั้งปริมาณและคุณภาพ ซึ่งในพื้นที่ทำการเจาะสำรวจจะแสดงค่าความเข้มข้นมากกว่าปกติ